วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สืบค้นข้อสอบ O-net ข้อ 21-26 มาลองทำกันดูนะ^^



คำอธิบาย
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกนี้มีลักษณะเหมือนกันประการหนึ่ง คือประกอบด้วยธาตุหลายชนิดมารวมอยู่ด้วยกั่น ธาตุหลักที่พบมากในสิ่งมีชีวิต คือ คาร์บอน (carbon, C) ไฮโดรเจน (hydrogen, H) ออกซิเจน (oxygen, O)ไนโตรเจน (nitrogen, N) ซัลเฟอร์ (sulfer, S) และฟอสฟอรัส (phosphorus, P) ธาตุต่าง ๆ เหล่านี้สามารถจะรวมตัวกันหลายรูปแบบ ก่อกำเนิดเป็นโมเลกุลของสิ่งมีชีวิตขึ้น การที่ธาตุต่าง ๆ สามารถรวมอยู่ด้วยกันได้ เพราะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมที่เรียกว่าพันธะโควาเลนต์ (covalent bond) เป็นสำคัญ แต่ก็ยังมีพันธะเคมีอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนทำให้การยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล และระหว่างโมเลกุลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น พันธะเหล่านี้คือ พันธะไอออนิก (Ionic bond) พันธะไฮโดรเจน (Hydrogen bond) และพันไฮโดรโฟบิก (hydrophobic bond)
พันธะโควาเลนต์เป็นพันธะเคมีที่ไม่แตกสลายง่าย ดังนั้น โมเลกุลเล็ก ๆ หลายชนิดจึงมีความคงทนเป็นพิเศษ และถูกใช้เป็นหน่วยย่อย (monomer)ในการสร้าง โมเลกุลใหญ่ๆ (polymer) โพลิเมอร์หนึ่ง ๆ นั้น ปกติจะประกอบด้วยหน่วยย่อยเหมือน ๆ กันเป็นจำนวนมากต่อกันยาวเป็นโซ่ ในการย่อยสลายโพลิเมอร์ลงเป็นหน่วยย่อยเหมือนๆ กันเป็นจำนวนมากต่อกันยาวเป็นโซ่ ในการย่อยสลายโพลิเมอร์ลงเป็นหน่วยย่อยนั้นทำได้ง่ายมากกว่าการสลายหน่วยย่อยเอง
เราสามารถจำแนกชีวโมเลกุลได้โดยดูที่หมู่ฟังก์ชันของโมเลกุลนั้นเป็นสำคัญหมู่ฟังก์ชันเหล่านี้ ได้แก่ โมเลกุลใดมีหมู่คาร์บอกซิล ก็จัดเป็นกรด ตัวอย่างเช่น กรดไขมัน จะมีหมู่คาร์บอกซิลและสายคาร์บอน–ไฮโดรเจนหนึ่งสาย หรือกรดอะมิโน ก็มีทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิล อยู่ในโมเลกุลเดียวกัน สำหรับคาร์โบไฮเดรต เช่น มอโนแซ็กคาไรด์ จะมีหมู่อัลดีไฮด์หรือหมู่คีโตน และหมู่ไฮดรอกซิล การศึกษาสมบัติทางเคมีของชีวโมเลกุล ตั้งแต่โมเลกุลหน่วยย่อย เช่น กรดอะมิโน มอโนแซ็กคาไรด์ และลิพิดตามลำดับนั้น เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีวเคมี (biochemistry)
สารชีวโมเลกุล (biomolecule) เป็นสารเคมีที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิต อยู่ในกลุ่มของสารอินทรีย์ มีหลายชนิด ทำหน้าที่ต่างๆ กันในร่างกาย เช่น เป็นองค์ประกอบของอวัยวะต่างๆ ใช้ในการสร้างพลังงาน ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ เป็นน้ำย่อย รวมทั้งเป็นสารพันธุกรรม
สาระสำคัญ
1. คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate)
2. โปรตีน (protein)
3. ลิพิด (lipid)
4. กรดนิวคลีอิก (nucleic acid)
ที่มา
http://thaigoodview.com/node/21065
ตอบ ข้อ 4 ค่ะ



คำอธิบาย

ชนิดของกรดไขมัน
กรดไขมันที่ได้จากการนำไตรกลีเซอไรด์มาไฮโดรไลซ์จะเป็นโซ่ตรง และมีจำนวนคาร์บอนเป็นเลขคู่อยู่ระหว่าง 12–24 อะตอม กรดไขมันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีประมาณ 40 ชนิด ซึ่งแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้

1. กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่พันธะระหว่างอะตอมคาร์บอนกับคาร์บอนยึดเหนี่ยวด้วยพันธะเดี่ยวทั้งหมด มีสูตรทั่วไปเป็น CnH2nO2 หรือ CnH2n+1COOH หรือเขียนสูตรได้เป็น CH3(CH2)nCOOH เช่น กรดไขมันอิ่มตัวที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอน 18 อะตอม จะมีสูตรทั่วไปเป็น C18H36O2 ซึ่งเขียนสูตรดังนี้

CH3(CH2)16COOH หรือ C17H35COOH
กรดไขมันอิ่มตัวที่พบมากที่สุด ได้แก่ กรดปาล์มิติก (palmitic acid) และกรดสเตียริก (stearic acid)

2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่พันธะระหว่างอะตอมคาร์บอนกับคาร์บอนยึดเหนี่ยวด้วยพันธะคู่อย่างน้อย 1 พันธะ ซึ่งมีจำนวนอะตอมคาร์บอนน้อยกว่ากรดไขมันอิ่มตัว 2 อะตอม มีสูตรทั่วไปเป็น CnH2n–2O2 หรือ CnH2n–1COOH หรือเขียนสูตรได้เป็น CH3(CH2)yCH=CH(CH2)xCOOH เช่น กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอน 18 อะตอม มีพันธะคู่ที่คาร์บอนตำแหน่ง 9–10 จะมีสูตรทั่วไปเป็น C18H34O2 ซึ่งเขียนสูตรดังนี้
CH3(CH2)7CH=CH(CH2)7COOH หรือ C17H33COOH

กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบมากที่สุด ได้แก่ กรดโอเลอิก (oleic acid) และกรดไลโนเลอิก (linoleic acid)
ไขมันและน้ำมันที่ได้จากสัตว์และพืชประกอบด้วยของผสมของกรดไขมันหลายชนิด ของผสมที่มีร้อยละของกรดไขมันอิ่มตัวสูงจะเป็นของแข็ง ก็คือเป็นไขมัน เช่น ไขวัว แต่ถ้ามีร้อยละของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงก็จะเป็นน้ำมัน เช่น น้ำมันพืช
ที่มา
http://www.promma.ac.th/chemistry/biomolecule/biomolecule041.htm
ตอบ ข้อ 3 ค่ะ




คำอธิบาย

สารละลาย (solution)

คือ สารเนื้อเดียวที่เกิดจากสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปผสมกัน โดยไม่เกิดปฏิกิริยาเคมี จุดเดือด และจุดหลอมเหลวไม่คงที่ ตัวอย่างเช่น สารละลายน้ำเกลือ ทิงเจอร์ไอโอดีน แอลกอฮอล์70% น้ำเชื่อม เป็นต้น
องค์ประกอบของสารละลาย
ตัวทำละลาย (solvent) ตัวถูกละลาย (solute)
ทำไมสารละลายมีอุณหภูมิขณะเดือดไม่คงที่ เพราะสารละลายประกอบด้วยสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน ขณะที่สารละลายเดือดก็จะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นไม่คงที่ เช่น สารละลายน้ำกับเอทานอล เมื่อสารละลายเดือดเอทานอลซึ่งมีจุดเดือดต่ำกว่าน้ำจะระเหยกลายเป็นไอก่อนน้ำ ทำให้อัตราส่วนของน้ำกับเอทานอลเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในที่สุดจุดเดือดก็จะคงที่ ก็คือจุดเดือดของน้ำนั่นเอง
ปัจจัยที่มีผลต่อการละลายของสาร
ชนิดของสาร อุณหภูมิ ความดัน
ความสามารถในการละลายของสาร(Solubility)ขึ้นอยู่กับ
ชนิดของสาร เช่น โซเดียมคลอไรด์(Nacl) แต่บางชนิดเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นก็จะมีความสามารถในการละลายลดลง เช่น ก๊าซทุกชนิด แคลเซียมโครเมต()
ความดัน ในกรณีที่ก๊าซละลายในของเหลว ถ้าความดันสูงก๊าซจะละลายได้ดี เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ละลายในน้ำอัดลม ถ้าเราเพิ่มความดันปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ที่ละลายในน้ำจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเราเปิดฝาขวด(ลดความดัน) จะทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์หนีจากของเหลว นั่นคือก๊าซละลายได้น้อยลง
การพิจารณาว่าใครคือตัวทำละลายและใครคือตัวถูกละลาย
พิจารณาที่สถานะ ถ้าสารที่มารวมกันมีสถานะต่างกัน สารที่มีสถานะเหมือนกับสารละลายจะเป็นตัวทำละลาย เช่น น้ำเกลือ(น้ำ+เกลือ) น้ำและน้ำเกลือต่างก็เป็นของเหลว ดังนั้นน้ำเป็นตัวทำละลาย และเกลือเป็นตัวละลาย
พิจารณาที่ปริมาณ ถ้าสารที่มารวมกันมีสถานะเดียวกัน สารที่มีปริมาณมากกว่าจะเป็นตัวทำละลาย เช่น อากาศ( ก๊าซไนโตรเจน 78% ออกซิเจน 21% และก๊าซอื่นๆอีก 1%) ก๊าซไนโตรเจนเป็นตัวทำละลายเพราะมีปริมาณมากที่สุด ส่วนก๊าซที่มีปริมาณน้อยกว่าได้แก่ ก๊าซออกซิเจนและก๊าซอื่นๆจะเป็นตัวถูกละลาย
สารละลายที่มีสถานะและปริมาณเท่ากัน เราจะให้อะไรเป็นตัวทำละลายก็ได้ ส่วนสารที่เหลือก็จะเป็นตัวละลาย
สถานะของสารละลายมี 3 สถานะคือ
ของแข็ง เช่น ทองเหลือง(ทองแดง+สังกะสี) ฟิวส์(บิสมัส+ตะกั่ว+ดีบุก) นิโครม(นิกเกิล+โครเมียม) นาก(ทองคำ+ทองแดง)
ของเหลว เช่น น้ำส้มสายชู(น้ำ+กรดแอซิติก) น้ำอัดลม(น้ำ+ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์+น้ำตาล) น้ำเกลือ น้ำเชื่อม ยาแดง
ก๊าซ เช่น อากาศ(ไนโตรเจน+ออกซิเจน+ก๊าซอื่นๆ) ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซหุงต้ม ก๊าซชีวภาพ
ที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no10/sanlalai.html
ตอบ ข้อ 2 ค่ะ




คำอธิบาย

กรดอะมิโน คือ กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีหมู่คาร์บอกซิล และหมู่อะมิโนเป็นหมู่ฟังก์ชัน
สูตรทั่วไป
กรดอะมิโนที่พบเป็นองค์ประกอบของโปรตีนมี 20 ชนิด และกรดอะมิโนจำเป็นมี 8 ชนิด คือ เมไทโอนีน ทรีโอนีน ไลซีน เวลีน ลิวซีน ไอโซลิวซีน เฟนิลอะลานิน และทริปโตเฟน มีความสำคัญสำหรับมนุษย์
สมบัติของกรดอะมิโน
1. สภานะ ของแข็ง ไม่มีสี
2. การละลายน้ำ ละลายน้ำ เกิดพันธะไฮโดรเจนและแรงแวนเดอร์วาลส์
3. จุดหลอมเหลว สูง อยู่ระหว่าง 150 - 300 C เพราะเกิดพันธะไฮโดรเจน
4. ความเป็นกรด-เบส กรด-เบส Amphoteric substance
การเกิดพันธะเพปไทด์
พันธะเพปไทด์ คือ พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิล ของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งยึดกับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 โมเลกุล เรียกว่า ไดเพปไทด์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 โมเลกุล เรียกว่า ไตรเพปไทด์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนตั้งแต่ 100 โมเลกุลขึ้นไป เรียกว่า พอลิเพปไทด์นี้ว่า โปรตีน
อนึ่งสารสังเคราะห์บางชนิดก็เกิดพันธะเพปไทด์เหมือนกัน เช่น ไนลอน ดังนี้
พวกเพปไทด์ที่เป็นโมเลกุลเปิดไม่ดูดเป็นวง จะหาจำนวนพันธะเพปไทด์ได้ดังนี้
ถ้ากรดอะมิโน n ชนิด ชนิดละ 1 โมเลกุล มาทำปฏิกิริยาเกิดเป็นพอลิเพปไทด์แบบต่าง ๆ โดยที่พอลิเพปไทด์แต่ละแบบต่างประกอบด้วยกรดอะมิโนแต่ละชนิดเท่า ๆ กัน
ที่มา
http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/84/chemistry/amino.html
ตอบ ข้อ 1 ค่ะ




คำอธิบาย

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) คือ สารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C, H และ O อัตราส่วนโดยอะตอมของ H : O = 2:1 เช่น C3H6O3C6H12O6 (C6H10O5)n
คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอินทรีย์ที่หมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์ (-CHO) และหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) หรือหมู่คาร์บอนิล (-CO) และหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) เป็นหมู่ฟังก์ชัน เช่น
คาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรตที่ให้รสหวาน
1.1 Monosaccharide CnH2nOn เป็นคาร์โบไฮเดรตที่โมเลกุลเล็กที่สุด เช่น C3H6O3 C6H12O6(เฮกโซส) มีกลูโคส ฟรุกโตส กาแลกโตส
1.2 Disaccharide เป็นคาร์โบไฮเดรตที่เกิด Monosaccharide 2 โมเลกุล มารวมตัวกัน เช่น C12H22O11 มีซูโครส มอลโตส แลคโตส
สมบัติ สถานะเป็นของแข็ง ละลายน้ำ มีรสหวาน ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์เกิดตะกอนสีแดงอิฐ (Cu2O) ยกเว้นซูโครส สำหรับ Disaccharide สามารถเกิดการไฮโดรลิซิสได้ Monosaccharide 2 โมเลกุล
2. คาร์โบไฮเดรตไม่มีรสหวาน Polysaccharide (C6H10O5)n เป็นคาร์โบไฮเดรตจำพวก พอลิเมอร์ที่เกิดจากโมเลกุล Monosaccharide (กลูโคส) จำนวนมากมายต่อรวมกัน เช่น แป้ง ไกลโคเจน เซลลูโลส
สมบัติ สถานะเป็นของแข็ง ไม่ละลายน้ำ ไม่มีรสหวาน เกิดการไฮโดรลิซิสได้ Monosaccharide ที่เป็นกลูโคสจำนวนมากมาย
การทดสอบคาร์โบไฮเดรต
1. คาร์โบไฮเดรตที่มีรสหวาน สารอินทรีย์ที่มีหมู่ -CO และ -OH ในโมเลกุลเดียวกันในด่าง เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น จะเปลี่ยนโครงสร้างเป็นหมู่ -CHO ดังนี้
สารละลายเบเนดิกต์ (Benedict solution) เป็นสารละลายผสมระหว่าง CuSO4, Na2CO3 และโซเดียมซิเตรด เป็น Cu2+/OH- มีสีน้ำเงิน
สารอินทรีย์ที่มีหมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์ (-CHO) ต้มกับสารละลายเบเนดิกต์ (Cu2+/OH-)
2. คาร์โบไฮเดรตที่ไม่มีรสหวาน
แป้ง + I2 -------------------->สารเชิงซ้อนสีน้ำเงินที่เป็นตะกอน
การหมัก (Fermentation) คือ กระบวนการเปลี่ยนสารอินทรีย์ในการที่ไม่ใช้ O2 โดยมีสิ่งมีชีวิต เช่น ยีสต์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้สารผลิตภัณฑ์เช่น แอลกอฮอล์
ที่มา
http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?category=110&id=4615
ตอบ ข้อ 3ค่ะ



คำอธิบาย
อินซูลิน (
อังกฤษ: Insulin) มาจากภาษาละติน insula หรือ "island" - "เกาะ" เนื่องจากการถูกสร้างขึ้นบน "เกาะแลงเกอร์ฮานส์" ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ในตับอ่อน) คือฮอร์โมนชนิดอนาโบลิกโพลีเพบไทด์ ซึ่ทำหน้าที่ควบคุมการเผลาผลาญคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสารตัวกระทำในคาร์โบไฮเดรทชนิดโฮมีโอสตาซิส มีผลต่อการเผาผลาญไขมันเปลี่ยนการทำงานของตับให้ทำหน้าที่เก็บหรือปลดปล่อยกลูโคส และทำให้เกิดการทำงานของลิพิด (ไขมัน) ในเลือดและในเนื้อเยื่ออื่น เช่นไขมันและกล้ามเนื้อ ปริมาณของอินซูลินที่เวียนอยู่ในร่างกายมีผลกระทบสูงมากในวงกว้างในทุกส่วนของร่างกาย
ในวง
การแพทย์ อินซูลินถูกใช้ในการรักษาโรคเบาหวานบางชนิด คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 1 ต้องอาศัยอินซูลินจากนอกร่างกาย (เกือบทั้งหมดใช้วิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนัง) เพื่อช่วยให้รอดชีวีตจากการขาดฮอร์โมน คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จะต่อต้านอินซูลิน หรือ ผลิตอินซูลินน้อย หรือทั้งสองอย่าง ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 บางรายต้องการอินซูลินเฉพาะเมื่อยาอื่นที่ใช้รักษาอยู่ไม่เพียงพอในการควบคุมระดับกลูโคสในเลือด
อินซูลิน ประกอบด้วย
กรดอะมิโน 51 ชนิดรวมกันอยู่ และมีน้ำหนักโมเลกุล 5808 Da
โครงสร้างของอินซูลิน ผันแปรเล็กน้อยตามชนิดของสัตว์ อินซูลินที่มีแหล่งมาจากสัตว์จะแตกต่างกันในเชิงขีดความสามารถในการควบคุมพลังการทำงาน (เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท) ในมนุษย์ อินซูลินจาก
สุกรมีความคล้ายคลึงกับอินซูลินของมนุษย์มากที่สุด
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99
ตอบ ข้อ 2 ค่ะ





























































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น